ราชภัฏรำไพพรรณี

ราชภัฏรำไพพรรณี พัฒนาเฟอร์นิเจอร์จาก “เปลือกทุเรียน” ลดขยะ

มหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี พัฒนาเฟอร์นิเจอร์จาก เปลือกทุเรียน ตอบสนองสังคมยุคใหม่พร้อมลดขยะ-สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้แก่ชุมชนชาวจันทบุรี และช่วยลดปริมาณขยะได้กว่า 3 พันตันต่อปี

จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่สามารถปลูกทุเรียนได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งในแต่ละปีจะมีปริมาณขยะจาก เปลือกทุเรียน เป็นจำนวนมาก อีกทั้งเปลือกทุเรียนมีลักษณะแข็งจึงสิ้นเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บและใช้เวลาย่อยสลายนานกว่าขยะประเภทอื่น ๆ ด้านมหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี นำโดยดร.จุฑาทิตย์ นามวงษ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หัวหน้าโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียนเพื่อการใช้สอยในยุคสังคมใหม่ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้เปิดเผยว่า คณะวิจัยได้พัฒนากรรมวิธีการแปรรูปเปลือกทุเรียน สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองการใช้งานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้คณะวิจัยได้พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สอยหรือวัสดุตกแต่งบ้านจาก เปลือกทุเรียน เช่น ชั้นวางของ เครื่องใช้สอยประเภทกรอบรูป กระถางและตะกร้า

ทำให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้าน ช่วยลดขยะจาก เปลือกทุเรียน ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีได้ไม่กว่า 3,000 ตันต่อปี รวมถึงช่วยลดปริมาณการขนส่งและกำจัดขยะของเทศบาลต่างๆ อีกทั้งยังก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้แก่คนในชุมชนด้วย

“ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สอยที่มีรูปแบบเรียบง่าย แต่ให้ความรู้สึกหรูหรา ราคาแพง ประโยชน์ใช้สอยหลากหลาย ใช้งานสะดวกสบาย จากการทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคเห็นว่า ผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่น่าสนใจ ราคาเหมาะสม แต่ควรปรับปรุงเรื่องน้ำหนัก ความแข็งแรงทนทานในการใช้งาน และสร้างความหลากหลายเรื่องสีสัน ลวดลาย ให้สดใสสวยงามตามสมัยนิยม”

เฟอร์นิเจอร์จาก “เปลือกทุเรียน”

จากการศึกษาพบว่าเปลือกทุเรียนมีเยื่อเซลลูโลสซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการเตรียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยพันธุ์ที่มีปริมาณเซลลูโลสมากที่สุดร้อยละ 53 คือ หมอนทอง ซึ่งนอกจากนี้ยังสามารถนำไปทำกระดาษที่มีความสวยงามแต่ขาดความคงทน เพราะเส้นใยทุเรียนมีขนาดสั้น ทำให้การยึดติดระหว่างเยื่อไม่แข็งแรง จึงต้องผสมเยื่อชนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย

สำหรับ เปลือกทุเรียน ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สอย ได้แก่ หมอนทอง ชะนี และกระดุม เพราะมีปริมาณเปลือกเหลือใช้จำนวนมากและหาง่ายที่สุด

โดยนำไปแปรรูปเป็นแผ่นกระดาษ แผ่นไม้อัด ด้วยกรรมวิธีการอัดขึ้นรูปด้วยความร้อนและทำเป็นเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ด้วยการขึ้นรูปแบบอิสระ และสามารถนำไปอัดเคลือบเรซินเพื่อให้วัสดุเงางาม ไม่เป็นฝุ่น

และนอกจากนี้คณะวิจัยยังค้นพบการเก็บรักษาเปลือกทุเรียนไว้ใช้ในช่วงขาดแคลนด้วยการดองจากเปลือกสด โดยแช่น้ำให้ท่วมและปิดฝาให้สนิท สามารถเก็บไว้ได้นาน 3-6 เดือน เพราะเปลือกทุเรียนมีสารกำมะถันเจือปนอยู่จึงรักษาความขาวของเปลือกทุเรียนไว้ได้ และควรเปลี่ยนน้ำล้างเป็นระยะเพื่อลดการเน่าเสียของเปลือกทุเรียน

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ cedarcreekracquetclub.com

แทงบอล

Releated